วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



  
                                              Research in Early Childhood Education
                                            การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย EAED 4901
                                         อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา  สุขสำราญ


วัน / เดือน / ปี  1 กุมพาพันธ์ 2559
สัปดาห์นี้อาจารย์ผูสอนนัดรวมตัวที่ศูนย์ครูเพื่อทำความเข้าใจรายระเอียดในการทำวิจัยร่วมกับนักศึกษา ดังนี้

- อาจารย์ผู้สอนอธิบายเค้าโครงในการเขียนวิจัย ลักษณะการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
- อาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาคิดชื่อเรื่อง
- นักศึกษาออกศึกษาข้อมูลในการทำวิจัยของแต่และกลุ่ม

การนำความรูปไปประยุกต์ใช้

       จากการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดทำให้เห็นวิจัยที่หลากหลาย และสามารถนำมาเป็นแนวทางในการทำวิจัยในอนาคต
การประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ 

เพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ 

อาจารย์ผู้สอน เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเข้าดครงการทำวิจัยทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



  
                                              Research in Early Childhood Education
                                            การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย EAED 4901
                                                   อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา  สุขสำราญ

วัน / เดือน / ปี  25  มกราคม 2559


             ครูผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันอภิปรายพูดคุยถึงปัญหาในชีวิตประจำวันและโยงเข้าเรื่องการตั้งปัญหาในการทำวิจัยและอาจารย์ผู้สอนนำตัวอย่างวิจัยมาให้นักศึกษาดู และนำตัวอย่างวิจัยหน้าเดี่ยวมาให้นักศึกษาดู หลังจากนั้นอาจารย์ผู้สอนให้นักศึกษาทำการค้นคว้าหาวิจัยเพื่อทำวิจัยหน้าเดี่ยวเป็นรายบุคคล 

วิจัยหน้าเดียวของข้าพเจ้า

วิจัยหน้าเดียว

1. ชื่อวิจัย : ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปีที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน
    ผู้วิจัย  : ผกากานต์  น้อยเนียม ระดับการศึกษาปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    ปัญหา  : การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี
    จุดประสงค์การวิจัย  : 1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี โดยรวมและรายด้าน ก่อนแลหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน
                                         2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี โดยรวมและรายด้าน ก่อนแลหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน
2. วิธีการวิจัย
     2.1  กลุ่มเป้าหมาย : เด็ดปฐมวัยชายและหญิงอายุ 4-5 ปี จำนวน 15  คน
     2.2  วิธีการหรือนวัตกรรม
             2.2.1  ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินด้วยตนเองอย่าอิสระโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มือ นิ้มมือในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยดินและตกแต่งต่อเติมด้วยวัสดุธรรมชาติต่างๆที่หลวกหลาย
     2.3   เครื่องมือที่ใช้
             2.3.1   แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยดิน
             2.3.2   แบบทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี
3. วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
    3.1  แบบแผนการทดลองในการวิจัยครั้งนี้ดำเนินการกึ่งทดลอง เป็นตามแผนการทดลอง One – Grop prettest – Posttest Design (สิริมา  ภิญโญอนันตพงษ์ . 2550:15)
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
    4.1  ระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี โดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปด้วยดิน
    4.2 เปรียบเทียบระดับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี โดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปด้วยดิน
5.   ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ก่อนการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินเด็กมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่เท่ากับ 23.80 หลังการจักกิจกรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินเด็กมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 47.13
6.  สรุปผล
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี โดยรวมหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดินสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 (t = 41.83 )

การนำความรูปไปประยุกต์ใช้

       จากการทำวิจัยหน้าเดียวทำให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าใจวิจัยแบบองค์ร่วมมากขึ้น สามารถอ่านและจับใจความของวิจัยแต่ละเรื่องได้
การประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีการเตรียมปัญหาและแนวทางการแก้ไข

เพื่อน เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีการเตรียมปัญหาและแนวทางการแก้ไข

อาจารย์ผู้สอน เข้าสอนตรงต่อเวลา  แต่งกายถูกระเบียบ พูดคุยของปัญหาที่นักศึกษานำเสนอและบอกแนวทางการแก้ไข แลโยงเข้าสู้การทำวิจัยให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น